มก.-ธ.ก.ส.NF049/2550
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มก.-ธกส.
สบู่ก้อนใสกลีเซลรีล
๑.ขอบข่าย
๑.๑ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มก-ธกส นี้ครอบคลุมเฉพาะสบู่ก้อนใสกลีเซอรีนที่อาจมีส่วนผสมของสมุนไพร ไม่ครอบคลุมสบู่ก้อนที่ได้ประกาศเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้ว สบู่ยา สบู่ที่เติมสารระงับเชื้อ และสบู่ซักล้าง
๒.บทนิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มก-ธกส นี้ มีดังต่อไปนี้
๒.๑ สบู่ก้อนใสกลีเซอรีน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกลีเซอรีนเป็นส่วนประกอบหลัก อาจผสมเกล็ดสบู่ สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ สมุนไพร เช่น ขมิ้น มะขาม เปลือกมังคุด น้ำผึ้ง มีรูปทรงต่าง ๆ เช่น สี่เหลี่ยม กลีบดอกไม้ใช้กับร่างกายเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกจากผิวหนัง
๓.ชนิด
สบู่ก้อนใส(กลีเซลรีล)
๔.คุณลักษณะที่ต้องการ
๔.๑ ลักษณะทั่วไป
ต้องเป็นก้อนใสหรือขุ่น ไม่มีสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้
๔.๒ กลีเซอรีน
ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ โดยน้ำหนัก
๔.๓ ไขมันทั้งหมด (กรณีผสมเกล็ดสบู่)
ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐ โดยน้ำหนัก
๔.๔ สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ (กรณีผสมสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์)
ต้องพบ
๔.๕ ไฮดรอกไซด์อิสระ (คำนวณเป็น Na2O)
ต้องไม่เกินร้อยละ ๐.๐๕ โดยน้ำหนัก
๔.๖ คลอไรด์ (คำนวณเป็น NaCl)
ต้องไม่เกินร้อยละ ๐.๘ โดยน้ำหนัก
๕.การบรรจุ
๕.๑ ให้บรรจุสบู่ก้อนในภาชนะบรรจุที่สะอาด แห้ง ผนึกให้เรียบร้อย และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้ กรณีที่มีการหุ้มห่อให้หุ้มห่อให้เรียบร้อยด้วยวัสดุที่เหมาะสมแล้วบรรจุในภาชนะบรรจุ
๕.๒ น้ำหนักสุทธิของสบู่ก้อนในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก มผช.๙๔/๒๕๔๖
๖.เครื่องหมายและฉลาก
๖.๑ ที่ภาชนะบรรจุสบู่ก้อนทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน
(๑) ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น สบู่ผสมตะไคร้ สบู่ผสมแตงกวา
(๒) น้ำหนักสุทธิ
(๓) เดือน ปีที่ทำการผลิต
(๔) วิธีใช้และข้อควรระวัง
(๕) ชื่อผู้ทำ หรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น
๗.การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
๗.๑ รุ่น ในที่นี้ หมายถึง สบู่ก้อนที่มีส่วนประกอบเดียวกัน ที่ทำหรือส่งมอบหรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน
๗.๒ การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้
๗.๒.๑ การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบลักษณะทั่วไป การบรรจุ และเครื่องหมายและฉลากให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน ๕ ก้อน เมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ ๔.๑ ข้อ ๕. และข้อ ๖. จึงจะถือว่าสบู่ก้อนรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
๗.๒.๒ การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบไขมันทั้งหมดไฮดรอกไซด์อิสระ และคลอไรด์ ให้ใช้ตัวอย่างที่ผ่านการทดสอบตามข้อ ๗.๒.๑ แล้ว จำนวน ๕ ก้อน นำมาทำเป็นตัวอย่างรวม เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ ๔.๒ ถึงข้อ ๔.๔ จึงจะถือว่าสบู่ก้อนรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
๗.๓ เกณฑ์ตัดสิน
ตัวอย่างสบู่ก้อนต้องเป็นไปตามข้อ ๗.๒.๑ และข้อ ๗.๒.๒ ทุกข้อ จึงจะถือว่าสบู่ก้อนรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้
๘.การทดสอบ/การตรวจสอบ
๘.๑ การทดสอบลักษณะทั่วไป ภาชนะบรรจุ และเครื่องหมายและฉลาก
ให้ตรวจพินิจ
๘.๒ การทดสอบไขมันทั้งหมด ไฮดรอกไซด์อิสระ และคลอไรด์
ให้ใช้วิธีทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สบู่ถูตัว มาตรฐานเลขที่ มอก.๒๙
๘.๓ การทดสอบน้ำหนักสุทธิ
ให้ใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม
-------------------------
โดย นางสาวสุพนิดา วินิจฉัย
1 Comment
สมอ สาร : ปีที่ 28 ฉบับที่ 326 สิงหาคม 2545 เรื่องที่ 9 |
AuthorWrite something about yourself. No need to be fancy, just an overview. Archives
June 2013
Categories |