การใช้กลีเซอรีนในการเลี้ยงไก่
การใช้กลีเซอรีนในการเลี้ยงไก่
ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกได้กระตุ้นให้มีการใช้วัตถุดิบอาหารทางเลือกในสัตว์ปีก โดยเฉพาะ กลีเซอรีน ท่ามกลางการขยายกำลังการผลิตไบโอดีเซล
กลีเซอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของกลีเซอรีน และสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนข้าวโพด สิ่งตกค้าง เช่น เมธานอล และโซเดียมที่มีระดับสูง ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ในการผสมในอาหารสัตว์ได้ตามปรกติ รายงานการศึกษาหลายฉบับ พบว่า การใช้ Apparent metabolisable energy (AME) ของกลีเซอรีนภายหลังการปรับปรุงไนโตรเจนแตกต่างกันระหว่างไก่เนื้อ ไก่ไข่ และนกกะทา ขึ้นกับวิธีการสกัด/การแปรรูปการผลิต ภายหลังการผลิตไบโอดีเซล อย่างไรก็ตาม กลีเซอรีน มีสัดส่วนของพลังงานที่นำไปใช้ได้อย่างน้อย ๘๕ เปอร์เซ็นต์ ความรู้ของวิถีเมตาโบลิซึมหลักของกลีเซอรอล และส่วนประกอบอื่นๆของกลีเซอรีนมีความสำคัญสำหรับการศึกษาต่อไปในอนาคตของวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนชนิดนี้ รวมถึง การเสาะแสวงหาการจัดการข้อจำกัดของกลีเซอรีนในการใช้เป็นอาหารสัตว์ ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของกลีเซอรีน และการใช้เป็นแหล่งพลังงานในอาหารสัตว์จะช่วยให้เราสามารถผสมกลีเซอรีนในสูตรอาหารสัตว์ที่สมดุลได้โดยไม่มีผลกระทบทางลบต่อสุขภาพสัตว์ปีก เขียนโดย น.สพ.ดร.วิษณุ วรรณแสวง ที่ 18:34
ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกได้กระตุ้นให้มีการใช้วัตถุดิบอาหารทางเลือกในสัตว์ปีก โดยเฉพาะ กลีเซอรีน ท่ามกลางการขยายกำลังการผลิตไบโอดีเซล
กลีเซอรอลเป็นส่วนประกอบสำคัญของกลีเซอรีน และสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนข้าวโพด สิ่งตกค้าง เช่น เมธานอล และโซเดียมที่มีระดับสูง ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ในการผสมในอาหารสัตว์ได้ตามปรกติ รายงานการศึกษาหลายฉบับ พบว่า การใช้ Apparent metabolisable energy (AME) ของกลีเซอรีนภายหลังการปรับปรุงไนโตรเจนแตกต่างกันระหว่างไก่เนื้อ ไก่ไข่ และนกกะทา ขึ้นกับวิธีการสกัด/การแปรรูปการผลิต ภายหลังการผลิตไบโอดีเซล อย่างไรก็ตาม กลีเซอรีน มีสัดส่วนของพลังงานที่นำไปใช้ได้อย่างน้อย ๘๕ เปอร์เซ็นต์ ความรู้ของวิถีเมตาโบลิซึมหลักของกลีเซอรอล และส่วนประกอบอื่นๆของกลีเซอรีนมีความสำคัญสำหรับการศึกษาต่อไปในอนาคตของวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนชนิดนี้ รวมถึง การเสาะแสวงหาการจัดการข้อจำกัดของกลีเซอรีนในการใช้เป็นอาหารสัตว์ ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของกลีเซอรีน และการใช้เป็นแหล่งพลังงานในอาหารสัตว์จะช่วยให้เราสามารถผสมกลีเซอรีนในสูตรอาหารสัตว์ที่สมดุลได้โดยไม่มีผลกระทบทางลบต่อสุขภาพสัตว์ปีก เขียนโดย น.สพ.ดร.วิษณุ วรรณแสวง ที่ 18:34