ความรู้พื้นฐาน กำมะถันในธรรมชาติมีสิ่งที่อยู่ในรูปของธาตุ สารประกอบอินทรีย์ และสารประกอบอนินทรีย์ ดินที่ใช้เพื่อการเพาะปลูก โดยทั่วไปมักพบว่ากำมะถันส่วนใหญ่อยู่ในรูปสารประกอบอินทรีย์ อินทรีย์วัตถุในดินมีสัดส่วนโดยน้ำหนักของธาตุ C:N:S ประมาณ 125:10:1.2 ดินในเขตแห้งแล้งอาจมีเกลือซัลเฟต เช่น CaSO4 MgSO4 หรือ Na2SO4 สะสมอยู่ในดิน แต่ดินในเขตร้อนชื้นทั่วไปกำมะถันมักมีแนวโน้มถูกชะล้างออกไปจากชั้นดิน ดินสวน ดินไร่ ที่ระบายน้ำได้ดี สารประกอบอนินทรีย์กำมะถันมักอยู่ในรูปเกลือซัลเฟต แต่ดินที่อยู่ในสภาพน้ำขัง กำมะถันจะถูกรีดิวซ์เป็นสารประกอบซัลไฟด์
พืชต้องการกำมะถันในปริมาณใกล้เคียงกับฟอสฟอรัส ถ้าพืชขาดกำมะถันกระบวนการสร้างโปรตีนจะถูกยับยั้ง และจะพบกรดอมิโนที่ไม่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบสะสมอยู่ในพืช พืชถูกกำมะถันไปใช้ได้เฉพาะเมื่ออยู่ในรูปซัลเฟตไอออน (SO42-) ดังนั้นกำมะถันที่อยู่ในรูปสารประกอบอินทรีย์จะต้องผ่านกระบวนการย่อยสลาย ก่อนพืชจึงจะใช้ประโยชน์ได้ ส่วนสารประกอบซัลเฟตจะต้องละลายออกมาอยู่ในสารละลายดินก่อนพืชจึงจะถูกไปใช้ ได้ วิธีวิเคราะห์กำมะถันที่เป็นประโยชน์มี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสกัดกำมะถันที่อยู่ในรูปซัลเฟตไอออน หรือสามารถเปลี่ยนเป็นซัลเฟตไอออนได้ง่าย โดยใช้สารละลายต่าง ๆ เช่น 0.01 M Ca(H2PO4) 0.25 M KCl 0.5 M NaHCO3 0.15 % CaCl2 5 mM MgCl2 500 mg-P/dm3 KH2PO4 0.5 M NH4OAc + 0.25 M HOAc ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ปริมาณหรือความเข้มข้นของซัลเฟตไอออนในสารละลายที่สกัดได้ วิธีวิเคราะห์ที่นิยมมี 2 วิธี คือ
1. วิธีวัดความขุ่น (turbidimetry หรือ Nephelometry) วิธีนี้วิเคราะห์โดยเติม BaCl2 ลงไปในสารละลายที่สกัดได้ หากมี SO42- อยู่ ปฏิกริยาเคมีเกิดขึ้นดังสมการ
BaSO4 เป็นสารที่ละลายน้ำได้น้อย (Ksp = 1.3 x 10-10) จึงเกิดตะกอนขุ่นขาวขึ้น เพื่อลดการละลายของ BaSO4 ให้ต่ำลงอีก นิยมเติมสารประเภทแอลกอฮอล์ เช่น CH3CH2OH ลงไปด้วย และเพื่อต้องการให้ BaSO4 แขวนลอยอยู่ในสารละลายได้มาก นิยมเติมสารเพิ่มความหนืด เช่น glycerin, gum acacia หรือ polyvinyl alcohol ลงไปด้วย จากนั้นนำสารแขวนลอยไปวัดความขุ่นที่ความยาวคลื่นประมาณ 400 nm ถ้าสารแขวนลอยขุ่นมากแสดงว่ามีซัลเฟตมากนั่นเอง
2. วิธีวัดการดูดกลืนแสง (speetrophotometry)
2.1 Johnson&Nishita method วิธีนี้จะต้องรีดิวซ์ซัลเฟตในสารละลายด้วยกรดผสม HI, HCOOH และ H3PO3 ไปเป็น H2S จากนั้นจับแก๊สที่เกิดขึ้นด้วยสารละลาย Zn(OAc)2 แล้วนำไปทำปฏิกริยากับ p-aminodimethylaniline โดยมี FeCl3 เป็นสารเร่ง จะได้ methylene blue แล้วนำไปวัดการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 670 nm ปฏิกริยาเคมีเกิดขึ้นดังสมการ
2.2 Cromate method วิธีนี้วิเคราะห์โดยเติมผง BaCrO4 ลงไปในสารละลายที่สกัดได้จากดิน ถ้าในสารละลายมีซัลเฟตอยู่ จะเกิดปฏิกริยาดังสมการ
จากนั้นแยกตะกอนแขวนลอยของ BaCrO4 และ BaSO4 ออกแล้วนำไปวัดการดูดกลืนแสงของโครเมตที่ความยาวคลื่น 370 nm วิธีนี้มีข้อเสียที่มีไอออนอื่นอีกหลายชนิดที่สามารถเกิดปฏิกริยากับ BaCrO4 ได้ เช่น ฟอสเฟต อาเซนเนต ซิลีเนต และตะกั่ว เป็นต้น ดังนั้นหากสารละลายมีไอออนเหล่านี้อยู่ จะทำให้ผลการวิเคราะห์จางกว่าความเป็นจริง 2.3 Th-morin method วิธีนี้วิเคราะห์โดยเติมสารประกอบเชิงซ้อน Th-morin (3, 5, 7, 2', 4' -pentahydroxyflavon) ลงไปในสารละลายที่สกัดได้จากดิน ถ้าในสารละลายมีซัลเฟตอยู่ ซัลเฟตจะเกิดปฏิกริยา Th-morin กลายเป็นสารประกอบ Th-SO4 สารประกอบ Th-morin มีสีเหลืองและดูดกลืนแสงได้ดีที่สุดที่ความยาวคลื่น 410 nm ดังนั้น ถ้าในสารละลายมีซัลเฟตอยู่จะทำให้ค่าการดูดกลืนแสงลดลง นอกจากนี้สารประกอบ Th-morin ยังเรืองแสงสีเขียวเมื่อได้รับ รังสีอุลตร้าไวโอเลต ในขณะที่ Th-SO4 ไม่เรืองแสง ดังนั้นสามารถวิเคราะห์ความเข้มข้นของซัลเฟตได้อีกวิธีหนึ่ง โดยการวัดความเข้มของแสงสีเขียวที่ลดลง เทคนิคนี้มีไอออนรบกวนการวิเคราะห์ที่สำคัญ คือ ฟลูออไรด์ ฟอสเฟต และเหล็ก (III) ข้อเสียของวิธีนี้คือ Th-(NO3)4.2H2O เป็นสารที่มีราคาแพง และเป็นสารกัมมันตภาพรังสี ทำให้ต้องเพิ่มการป้องกันอันตรายระหว่างการวิเคราะห์ 3. วิธีไอออนโครมาโทกราฟฟี่ วิธีนี้วิเคราะห์โดยใช้เครื่องไอออนโครมาโตกราฟฟี่ ข้อดีของวิธีนี้คือ สามารถวิเคราะห์แอนไอออนชนิดอื่น เช่น ฟลูออไรด์ คลอไรด์ ไนเตรต หรือ ฟอสฟอรัส ได้พร้อมกันในครั้งเดียว ส่วนข้อเสียของวิธีนี้คือ ถ้าความเข้มข้นของไอออนชนิดใดชนิดนึ่งสูงกว่าความเข้มข้นของไอออนที่ต้องการ วิเคราะห์มาก จะทำให้สัญญาณของไอออนนั้นซ้อนทับสัญญาณของไอออนที่ต้องการวิเคราะห์ ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะกับการวิเคราะห์ซัลเฟตที่สกัดด้วยน้ำ ในกรณีที่ต้องการวิเคราะห์ซัลเฟตที่สกัดด้วยสารละลาย จำเป็นต้องมีกระบวนการกำจัดหรือลดความเข้มข้นของแอนไอออนที่ใช้สกัดเสียก่อน 4. วิธี Induetively coupled plasma atomic emission speetrophotometry (ICP-AES) วิธีนี้วิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือ ICP-AES ข้อดีของวิธีนี้ คือ สามารถวิเคราะห์ได้รวดเร็ว และสะดวกเนื่องจากไม่มีกระบวนการทางเคมีใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในขั้นตอนการวิเคราะห์ และมีช่วงความเข้มข้นที่วิเคราะห์ได้ (working range) กว้างกว่าวิธีอื่น เครื่อง ICP-AES มีราคาแพง ทำให้หน่วยงานที่มีงบประมาณน้อย ไม่สามารถจัดหาเครื่องมือชนิดนี้ได้ วัตถุประสงค์อุปกรณ์และเครื่องแก้ว Vis speetrophotometer Analytical balance ความละเอียด 0.1 mg Erlenmeyer flask ขนาด 250 cm3 จำนวน 3 ใบ Erlenmeyer flask ขนาด 50 cm3 จำนวน 3 ใบ Volumetric flask ขนาด 25 cm3 จำนวน 10 ใบ Volumetric flask ขนาด 100 cm3 จำนวน 1 ใบ Volumetric pipet ขนาด 10 cm3 จำนวน 2 อัน สารเคมี สารละลายโซเดียมคลอไรด์ในกรดไฮโดรคลอริค : เตรียมโดยละลาย NaCl (LR grade) 240 กรัม ในน้ำกลั่นประมาณ 800 cm3 เติมกรด HCl เข้มข้น (35-37% AR grade) ลงไป 5 cm3 แล้วปรับปริมาตรเป็น 1000 cm3 สารละลายกลีเซอรีนในเอธานอล : เตรียมโดยผสมกลีเซอรีน (C3H8O3 : AR grade) 300 cm3 กับเอธานอล (CH3CH2OH : 95% LR grade) 600 cm3 เข้าด้วยกัน Mixed reagent : ผสมสารละลายในข้อ 4.1 และ 4.2 ลงในขวด dispenser ในอัตราส่วน 1:1 สารละลายมาตรฐานซัลเฟต : เตรียมโดยนำ Na2SO4 ไปอบที่อุณหภูมิ 100-110 เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ทั้งให้เย็นในโถแก้วดูดความชื้นจากนั้นชั่งสารนี้มา 4.4299 กรัม ละลายน้ำแล้วปรับปริมาตรเป็น 1 dm3 จะได้สารละลายที่ความเข้มข้น 1000 mg-S/dm3 BaCl2 : ใช้ในสภาพของแข็ง สารละลายสกัด : เตรียมโดยละลาย 1.47 กรัม CaCl2.2H2O ในน้ำ 1 dm3 จะได้สารละลายนี้ความเข้มข้น 0.01 M วิธีทดลอง
- เพื่อให้นักศึกษารู้วิธีวิเคราะห์กำมะถันที่เป็นประโยชน์ในดิน
- เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการวิเคราะห์โดยวิธีวัดความขุ่น
การคำนวณ ความเข้มข้นของกำมะถันที่เป็นประโยชน์ในดินตัวอย่าง คำนวณได้จากสูตร
- ชั่งดินตัวอย่างละ 5 กรัม (ความละเอียด 0.01 กรัม) ใส่ใน erlenmeyer flask ขนาด 250 cm3
- เติมสารละลายสกัดลงไป 25 cm3 โดยใช้ dispenser
- นำไปเขย่าด้วยเครื่องเขย่านาน 30 นาที จากนั้นกรองด้วยกระดาษกรอง Whatman No.5 และรองรับสารที่กรองได้ด้วย erlenmeyer flask ขนาด 50 cm3
- เจือจางสารละลายซัลเฟตมาตรฐาน โดยปิเปตสารละลาย 10 cm3 ใส่ใน volumetric flask ขนาด 100 cm3 แล้วปรับปริมาตรด้วยน้ำกลั่น
- ปิเปตสารละลายมาตรฐานที่เจือจางแล้วจากข้อ 5.4 ใส่ใน volumetric flask ขนาด 25 cm3 จำนวน 0 1 2 3 4 6 และ 8 cm3 (ใช้ flask 7 ใบ)
- เติม mixed reagent ลงใน volumetric flask ทั้ง 7 ใบในข้อ 5 ใบละ 10 cm3 โดยใช้ dispenser แล้วปรับปริมาตรด้วยน้ำกลั่น
- ปิเปตสารละลายที่สกัดได้จากข้อ 3 ตัวอย่างละ 10 cm3 ใส่ใน volumetric flask ขนาด 25 cm3 จากนั้นเติม mixed reagent ลงไป flask ละ 10 cm3 แล้วปรับปริมาตรด้วยน้ำกลั่น
- นำสารที่เตรียมได้ในข้อ 6 (Standard) และข้อ 7 (sample) ไปยังเครื่องวัดการดูดกลืนแสง (UV-Vis speetrophotometer)
- เติมผง BaCl2 ลงไปประมาณ 50 mg แล้วเขย่า 10 ครั้ง วางทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที เพื่อให้ฟองอากาศลอยขึ้นสู่ผิวของสารละลายจนหมด
- วัดความขุ่นที่ความยาวคลื่น 410 nm เทียบกับ reagent blank (ปรับค่าการดูดกลืนแสงของ reagent blank ให้อ่านค่าเป็น 0.00)
- เขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าความขุ่น (turbidance) ที่วัดได้ของสารละลายมาตรฐาน (เตรียมได้ในข้อ 5) กับความเข้มข้นของซัลเฟตในหน่วย mg-S/25cm3 ด้วยโปรแกรม CalLib หรือโปรแกรมอื่นที่ผู้ควบคุมปฏิบัติการจัดหาไว้ให้
Avail S = mVs/WVx mg-S/kg
เมื่อ m = ความเข้มข้นของซัลเฟตที่อ่านได้จากโปรแกรม CalLib (mg-S/25cm3)
Vs = ปริมาตรของสารละลายสกัดที่ใช้ในที่นี้คือ 25 cm3
Vx = ปริมาตรของสารละลายสกัดที่กรองได้และนำไปวิเคราะห์ (cm3 )
W = น้ำหนักดินตัวอย่าง (g) การประเมินระดับกำมะถันในดิน ค่าวิกฤติของกำมะถันที่เป็นประโยชน์อยู่ที่ 10 mg-S/kg ซึ่งหมายความว่าถ้าค่าวิเคราะห์ต่ำกว่านี้พืชที่ปลูกในดินบริเวณพื้นมีแนว โน้มจะขาดกำมะถัน อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดินไม่อาจชี้วัดได้แน่นอนเนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่นพืชแต่ละชนิดต้องการกำมะถันไม่เท่ากัน พืชได้รับกำมะถันจากหลายแหล่ง กำมะถันในดินถูกชะล้างลงสู่ชั้นดินที่ลึกลงไปได้ง่าย ดังนั้นการประเมินกำมะถันควรใช้ข้อมูลความเข้มข้นในดินชั้นล่าง ประกอบด้วยดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่าร้อยละ 1 หรือมีอินทรีย์วัตถุสูงกว่าร้อยละ 1 แต่มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำกว่า 10 mg-P/kg มักมีแนวโน้มว่ากำมะถันไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช
ข้อมูลจากhttp://agri.wu.ac.th/msomsak/Soil/Lab/Lab06.htm
0 Comments
|