รวมทุกเรื่องราวเกี่ยวกับประโยชน์และการใช้งานของกลีเซอรีน
Glycerine รวมทุกเรื่องราว เกี่ยวกับ กลีเซอรีน
Home
ผู้ค้นพบกลีเซอรีน
เครื่องสำอางค์
สบู่
โรงงานผลิตสบู่ก้อน
วิธีทำสบู่- สบู่เหลว
ส่วนผสมของสบู่
ขั้นตอนในการทำสบู่
ข้อควรระวังการใช้ด่าง
การปรับปรุงสบู่
วิธีดำเนินการ
การเลือกแชมพูให้เหมาะกับเส้นผม
การเกษตร
สารจับใบ
การแพทย์-ยา
ถุงยางอนามัย
อุตสาหกรรม
PRESSURE GAUGES
การใช้กลีเซอรีนในอาหาร
กำมะถันที่เป็นประโยชน์
Blog
งานศิลป์
กลีเซอรีน
การออกซิเดชั่นกลีเซอรีนโดยด่างทับทิม
โคโตซาน
สั่งซื้อสินค้า
ราคาเบสสบู่ กลีเซอรีนใส
ราคาเบสสบู่ กลีเซอรีนขาวขุ่น
Blog
----- คุณสมบัติของสีน้ำ กับ กลีเซอรีน -----
สีน้ำเป็นผลผลิตใหม่สำหรับสังคมที่ส่งเสริมให้การพิมพ์และวาดเขียนมีคุณค่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสมบูรณ์ทางด้านบรรยากาศและ บริเวณว่าง
ลักษณะเฉพาะที่เด่นของสีน้ำ
ก็คือ ความโปร่งใส ( Transparent ) เวลาระบายใช้พู่กันแตะสีละลายกับน้ำ ระบายบนกระดาษขาว พยายามระบายไปครั้งเดียว ไม่ควรระบายสีต่างๆ ซ้ำหรือทับกันหลายหน เพราะจะทำให้สีหม่นขาดคุณสมบัติโปร่งใส และควรรักษาให้พู่กันสะอาดอยู่เสมอเมื่อต้องการเปลี่ยนสีใหม่
สีน้ำมีส่วนประกอบที่สำคัญ
คือ เนื้อที่บดแล้วอย่างละเอียด ( Pigment ) ผสมกับกาวอารบิค ซึ่งสกัดมาจากต้นอะคาเซีย ( Acacia tree ) กาวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ละลายน้ำง่ายและเกาะติดกระดาษแน่น ทั้งยังมีลักษณะโปร่งใสอีกด้วย
---
คุณสมบัติทั่วไปของสีน้ำ
1.ลักษณะโปร่งใส
(
Transparent Quality )
2. ลักษะเปียกชุ่ม
(
Soft Quality )
----- เนื่องจากสีน้ำมีส่วนผสมของกาว และสีที่บดอย่างละเอียด ดังนั้น เมื่อระบายน้ำบนกระดาษสีขาวจึงมีเนื้อที่ไม่หนาทึบจนเกิดไป ทำให้เกิดลักษณะโปร่งใส และการระบายสีน้ำจะต้องระบายไปทีเดียว ไม่ระบายซ้ำกัน เพราะจะทำให้สีช้ำหรอหม่นได้ และควรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ ในบางกรณ๊อาจจะระบายจากสีแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ทั้งนี้ต้องคอยระวังอย่าให้น้ำที่ใช้ผสมสีขุ่นหรือคล้ำ เพราะจำทำให้สีหม่นหรือทึบได้
----- เนื่องจากในการระบายสี จะต้องผสมผสานกับน้ำและระบายให้ซึมเข้าหากันเมื่อต้องการให้กลมกลืนกัน ดังนั้น เมื่อระบายไปแล้วลักษณะของสีที่แห้งบนกระดาษ จะคงความเปียกชุ่มของสี ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ และในบางกรณีที่ใช้สีน้ำระบายมากเกินไป แล้วปล่อยให้สีแห้งไปเอง ก็จะเกิดคราบของสี ( Sfumato ) ปรากฏให้เห็น ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งศิลปินสีน้ำท่านใดสามารถสร้างสรรค์ให้คราบนั้นน่าดูและมีความหมายขึ้น ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของสีน้ำที่มีค่าควรชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง
3.สีน้ำมีคุณสมบัติที่แห้งเร็ว
4.สีน้ำมีคุณสมบัติรุกรามและยอมรับ
(
Advance, Receda )
----- เมื่อเทียบกับสีน้ำมัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเชื่อต่อผู้สนใจทั้งหลายว่า เป็นสื่อที่ระบายยาก และเหมาะสำหรับผู้ที่สามารถตัดสินใจรวดเร็วในการถ่ายทอดเท่านั้น อย่างไรก็ดีความเชื่อดังกล่าวอาจแก้ไขได้ ด้วยการลงมือทำจริง เพราะเหตุว่า การระบายสีน้ำมีวิธีระบายหลายวิธี และเราสามารถควบคุมคุณสมบัติแห้งเร็วนี้ได้ ด้วยการผสม
กลีเซอรีน
ลงในน้ำผสมสีก็จะช่วยให้แห้งช้าได้
-----
ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับเนื้อสีและ
สารเคมีที่ผสม ซึ่งผู้สนใจจะต้องสอบทานด้วยตนเองว่าสีใดที่มีคุณสมบัติรุกรานสีอื่น หรือสีใดยอมให้สีอื่นรุกราน และสีใดที่ติดกระดาษแน่นล้างน้ำไม่ออก ( Stained Color )
ลักษณะและคุณสมบัติของสีน้ำโดยสรุปทั้ง 4 ประการนี้ ช่วยให้รู้ว่า สีน้ำมีขีดจำกัดในการนำไปใช้เป็นสื่อได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้สีน้ำก็ยังเป็นสื่อที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าที่เด่นๆ 3 ประการคือ
1.สีน้ำสามารถใช้เป็นสื่อถ่ายทอดรูปแบบของสิ่งต่างๆได้
ตามที่เรามองเห็นและเรารู้สึก เพื่อแสดงคุณค่าของความรู้สึกเรียบง่าย ( Simpli-city ) คุณค่าของบรรยากาศและเวลา
2.สีน้ำสามารถใช้เป็นสื่อบันทึกความรู้สึกประทับใจ
และประสบการณ์ของเราโดยตรงต่อสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่เราสัมผัส ( Impression )
3.สีน้ำโดยตัวของมันเอง มีคุณค่าของความงาม
เท่ากับความงามของโลกภายนอกเท่าที่เราสามารถรับรู้ได้ ( Time and Space )
สรุปได้ว่า จิตรกรรมสีน้ำ เป็นพฤติกรรมตอบสนองจากการรับรู้ของมนุษย์ด้วยมือและสมอง ผสมกับความคิดสร้างสรรค์ที่ติดตัวมา ก่อให้เกิดเป็นรูปแบบศิลปะแบบประเภทหนึ่ง ซึ่งสีน้ำที่มนุษย์นยำมาใช้สร้างสรรค์นี้ได้รับการพัฒนามาจาก การวาดเขียน โดยสามารถเพิ่มคุณค่าเชิงคุณภาพด้านบรรยากาศได้ดีกว่าการวาดเขียน
สีน้ำมีคุณสมบัติโปร่งใ
ส นิยมระบายบนกระดาษขาว ซึ่งมีลักษณะผิวของกระดาษต่างๆกัน นอกจากนี้ยังมีลักษณะชุ่มเยิ้มมีคราบ เป็นลักษณะเฉพาะของสีน้ำเอง ดังนั้น คุณค่าและประโยชน์ของสีน้ำ จึงต่างกับสื่อวัสดุประเภทอื่น เช่น คุณค่าของความเรียบง่าย และคุณค่าด้านความรู้สึกขอบรรยากาศ เป็นต้น
เนื้อหา จากหนังสือ การระบายสีน้ำ ; อารี สุทธิพันธุ์ 2535